วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักการออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)


หลักการออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)

               ฐานข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับระบบงานสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลในปัจจุบัน ในการออกแบบระบบสารสนเทศปัจจุบันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างมากมาย โดยจะมีระบบการออกแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเรียกว่า Relational Model โดยมีโปรแกรมที่คุณจะศึกษาหรือโปรแกรม MS Access นี้เป็นตัวช่วยในการออกแบบและสร้างฐานข้อมูล ถือว่าเป็น Tool ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 

             ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(Relational Database) หนึ่งฐานข้อมูล สามารถบรรจุได้หลายตาราง จึงทำให้เกิดคำถามว่า ควรจะมีตารางเป็นจำนวนเท่าใด และมีฟิลด์อะไรบ้างที่อยู่ในแต่ละตาราง คำตอบที่จะได้เป็นพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบที่ดีจะทำให้ฐานข้อมูลง่ายต่อการใช้งาน และมีความยืดหยุ่น 

            เช่นเดียวกับหลายๆ สิ่งในชีวิต ในการออกแบบฐานข้อมูลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ หมายความว่า คุณสามารถออกแบบฐานข้อมูลได้ทั้งแบบอย่างไม่มีแบบแผน โดยใช้ประสบการณ์ หรือจะใช้การออกแบบอย่างมีแบบแผนก็แล้วแต่

ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล
           การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ผู้ออกแบบต้องสามารถจำแนกกลุ่มข้อมูลหรือเอนทิตี้ได้อย่างชัดเจนและตรบถ้วน โดยกำหนดคุณลักษณะหรือแอตทริบิวต์ของแต่ละเอนทิตี้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งจะต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลได้ จะมีขั้นตอน ดังนี้

การจัดการพจนานุกรมข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการจัดเก็บนิยามของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล เป็นสารนิเทศที่บอกเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ทั้งหมดที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้พจนานุกรมข้อมูล เพื่อค้นหาโครงสร้างตลอดจนส่วนประกอบของข้อมูลและความสัมพันธ์ที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีต่อโครงสร้างฐานข้อมูลจะถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติในพจนานุกรมข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเมื่อโครงสร้างข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
การจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างโครงสร้างที่จำเป็นต่อการจัดเก็บข้อมูล ช่วยลดความยุ่งยากในการนิยามและการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเก็บกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบูรณภาพของข้อมูลอีกด้วย
การแปลงและนำเสนอข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรูปแบบของข้อมูลทางตรรกะและทางกายภาพ กล่าวคือทำให้มีความเป็นอิสระของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะแปลงความต้องการเชิงตรรกะของผู้ใช้ ให้เป็นคำสั่งที่สามารถดึงข้อมูลทางกายภาพที่ต้องการ
การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบ และความสามารถในการใช้ระบบ เช่น การอ่าน เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญมากในระบบฐานข้อมูลแบบที่มีผู้ใช้หลายคน
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะใช้หลักการออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันได้ และข้อมูลมีความถูกต้อง
การเก็บสำรองและกู้คืนข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการสำรองและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้แน่ใจด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูลในระบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะกู้ข้อมูลในฐานข้อมูลคืนมาหลังจากระบบเกิดความล้มเหลว เช่น เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
การควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสนับสนุนและควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ตั้งแต่ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ไปจนถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก็บไว้ในพจนานุกรมข้อมูลจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูลด้วย
ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านภาษาคิวรี (query language) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยผู้ใช้เพียงบอกว่าต้องการอะไร และไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไรในการนำข้อมูลออกมา เพราะระบบการจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้กำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเอง
การติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะต้องสนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล เครือข่ายห้องสมุด Thailis


 เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) พร้อมภาพ โดยเฉพาะข้อมูลวิทยานิพนธ์ งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตลอดจนให้บริการ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย/สถาบันกว่า 70 แห่ง เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศฉบับเต็ม พร้อมภาพที่ต้องการได้ทันที โดยปัจจุบันมีการจัดเก็บข้อมูลในระบบจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนกว่า 50,000 รายการ (โครงการพัฒนาเครือข่าย ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย ( ThaiLIS )

วิธีการใช้ฐานข้อมูล ThaiLIS
1. หน้าจอสืบค้นฐานข้อมูล ThaiLIS  จะวิธีการสืบค้นฐานข้อมูล วิธี  
                  1)  ค้นโดย Basic Search  
            2) Advanced Search 
            3) Browse Search  แล้วแต่ผู้ใช้ แต่ที่ใช้มาก คือ Basic  Search



2. หน้าจอจะปรากฏรายการที่ท่านสืบค้น ให้ทำการเลือกรายการโดย
     4) คลิกเลือกลำดับที่ต้องการ และคลิกที่ชื่อเรื่อง

  เมื่อคลิกเลือกรายการที่ต้องการแล้ว จะพบวิทยานิพนธ์ หรือรายงานวิจัย ที่แยกเป็นเอกสารแต่ละไฟล์งาน หรือเป็นไฟล์งาน ไฟล์ แล้วแต่ละสถาบันจะนำข้อมูลขึ้น  สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้เช่นกัน
3. หากต้องการจะ อ่านเอกสารฉบับเต็ม เพื่อ Download  ต้อง
      5) คลิกยอมรับเงื่อนไข และ 6) คลิกเลือก Server  ThaiLIS  จะพบข้อมูลเอกสารที่ต้องการ

4. เมื่อคลิก Server ThaiLIS  เรียบร้อยแล้ว  จะปรากฏหน้าจอให้เลือก
       7) Open 
       8) Save 
       9) Cancle 
   เพื่อให้เปิดดูหรือบันทึกเอกสารฉบับเต็ม  ซึ่งหมายความว่าท่านได้เอกสารที่ต้องการค้นหาเรียบร้อยแล้ว

ที่มา : http://lrckm.wordpress.com/
          http://site2.rmutto.ac.th/node/4
         https://www.facebook.com/notes/9experttraining/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น