วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

 WEB OPAC มหาวิทยาลัยขอนแก่น

             WEB OPAC คือ ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ (Online Public Access Catalog - OPAC) เป็นฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมที่หน่วยงาน สถาบันหรือแหล่งบริการสารสนเทศนั้นๆ จัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาและชี้แหล่งทรัพยากรให้กับผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ บทความวารสาร โสตทัศนวัสดุ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและค้นหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากแหล่งบริการสารสนเทศส่วนใหญ่ใช้ระบบออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต การสืบค้นสามารถทำได้ง่าย เช่น การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ เลขเรียกหนังสือ ซึ่งใช้หลักการสืบค้นเช่นเดียวกับการ สืบค้นด้วยบัตรรายการ

ขั้นตอนในการสืบค้น
Step 1 การเข้าสู่หน้าจอ เพื่อค้นหาข้อมูลของห้องสมุด จาก OPAC หรือ Web OPAC
            1. เข้าไปที่ www.library.kku.ac.th/library เพื่อค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด
            2. คลิกเลือกค้นหาหนังสือ/สื่อโสตฯ/วารสาร ด้วย Web OPAC
            3. กำหนดทางเลือกในการค้นหา เช่น ค้นหาโดยใช้ ชื่อเรื่อง (หมายถึงชื่อของหนังสือหรือสิ่งพิมพ์)
            4. พิมพ์คำค้น คือ การตลาดสำหรับภาครัฐ
            5. คลิก
 ค้นหา

Step 2 ขั้นตอนการส่งคำขอจองหนังสือหรือทรัพยากรของห้องสมุด

           6. รายการที่สามารถจองได้ คือรายการที่ถูกยืมออก เช่น รายการที่ 1 หนังสือหมวด SB472 ร192 2546 กำหนดส่งคืน 15-05-12
           
7. เมื่อต้องการจองรายการนี้ ให้คลิกที่ Request

           8. จะปรากฏหน้าจอให้กรอก ชื่อ-สกุล และบาร์โค้ตบนบัตรนักศึกษา/บุคลากร
           9. คลิกที่ Submit

            จะปรากฏหน้าจอหนี้ ให้คลิกที่ เพื่อเลือกรายการที่ต้องการจอง ดังภาพ
           10. คลิกที่ Request Selected Item เพื่อส่งคำขอจองหนังสือรายการดังกล่าว
       หมายเหตุ
          เมื่อคลิกที่ Request Selected Item จะปรากฏหน้าจอแสดงรายการคำขอจองหนังสือ ดังภาพด้านล่างนี้ ซึ่งห้องสมุดจะทำการรับจองหนังสือตามคำขอดังกล่าว ภายใน 24 ชั่วโมง
Step 3 การตรวจสอบรายการหนังสือหรือทรัพยากรของห้องสมุดที่ส่งคำขอจองเอาไว้
           ขั้นตอนการตรวจสอบรายการจองผ่านระบบออนไลน์
           1. เข้าไปที่ www.library.kku.ac.th/library
           2. คลิกตรวจสอบรายการยืมและยืมต่อด้วยตนเอง เพื่อ Login เข้าสู่ระบบสมาชิกฯ โดยกรอกชื่อ-สกุลและบาร์โค้ต
          3. จะปรากฏหน้าจอให้ Login เข้าสู่ระบบสมาชิก "My Account" เพื่อตรวจสอบรายการจอง โดยให้กรอก ชื่อ-นามสกุล และบาร์โค้ตบนบัตรนักศึกษา/บุคลากร ลงในช่องว่าง
          4. เมื่อคลิกที่ Submit
            5. จะปรากฏหน้าจอนี้ ให้คลิกที่เข้าที่ 1 requests (จอง)
            จะปรากฏรายการที่จองไว้ คือ + 1 จอง




วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล 

                งานในองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องมีข้อมูลของการทำงาน หรือข้อมูลทางธุรกิจในลักษณะต่าง ๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจมีทั้งข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้นข้อมูลขององค์การดังกล่าวยังอาจมีความสำคัญมากน้อยต่างกัน มีผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือทุกกลุ่มได้ตามความจำเป็นและตามลำดับชั้นความลับ สิ่งสำคัญคือ ข้อมูลขององค์การหนึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกันและควรที่จะนำมารวมไว้ใน ฐานข้อมูล” (Database)

       
ความหมาย
















        มีคำอธิบายความหมายของ ฐานข้อมูลอยู่มากมายหลายคามหมาย ตัวอย่างเช่น
       
ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น  เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
       
ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง (A database is a collection of persistent data that is used by the application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล เช่น 


กิจการ                                     =                           ข้อมูลคงทน                                                 บริษัทผู้ผลิตสินค้า                  =                           ข้อมูลผลิตภัณฑ์ 
 ธนาคาร                                   =                           ข้อมูลบัญชี 
โรงพยาบาล                             =                           ข้อมูลผู้ป่วย 
มหาวิทยาลับ                           =                           ข้อมูลนักศึกษา 
หน่วยราชการ                          =                           ข้อมูลการวางแผน







วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หลักการออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)


หลักการออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)

               ฐานข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับระบบงานสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลในปัจจุบัน ในการออกแบบระบบสารสนเทศปัจจุบันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างมากมาย โดยจะมีระบบการออกแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเรียกว่า Relational Model โดยมีโปรแกรมที่คุณจะศึกษาหรือโปรแกรม MS Access นี้เป็นตัวช่วยในการออกแบบและสร้างฐานข้อมูล ถือว่าเป็น Tool ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 

             ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(Relational Database) หนึ่งฐานข้อมูล สามารถบรรจุได้หลายตาราง จึงทำให้เกิดคำถามว่า ควรจะมีตารางเป็นจำนวนเท่าใด และมีฟิลด์อะไรบ้างที่อยู่ในแต่ละตาราง คำตอบที่จะได้เป็นพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล การออกแบบที่ดีจะทำให้ฐานข้อมูลง่ายต่อการใช้งาน และมีความยืดหยุ่น 

            เช่นเดียวกับหลายๆ สิ่งในชีวิต ในการออกแบบฐานข้อมูลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ หมายความว่า คุณสามารถออกแบบฐานข้อมูลได้ทั้งแบบอย่างไม่มีแบบแผน โดยใช้ประสบการณ์ หรือจะใช้การออกแบบอย่างมีแบบแผนก็แล้วแต่

ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล
           การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อใช้งานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ผู้ออกแบบต้องสามารถจำแนกกลุ่มข้อมูลหรือเอนทิตี้ได้อย่างชัดเจนและตรบถ้วน โดยกำหนดคุณลักษณะหรือแอตทริบิวต์ของแต่ละเอนทิตี้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งจะต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลได้ จะมีขั้นตอน ดังนี้

การจัดการพจนานุกรมข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการจัดเก็บนิยามของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล เป็นสารนิเทศที่บอกเกี่ยวกับโครงสร้างของฐานข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ทั้งหมดที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องทำงานผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยที่ระบบจัดการฐานข้อมูลจะใช้พจนานุกรมข้อมูล เพื่อค้นหาโครงสร้างตลอดจนส่วนประกอบของข้อมูลและความสัมพันธ์ที่ต้องการ นอกจากนั้นแล้วการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีต่อโครงสร้างฐานข้อมูลจะถูกบันทึกไว้โดยอัตโนมัติในพจนานุกรมข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขโปรแกรมเมื่อโครงสร้างข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง
การจัดเก็บข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างโครงสร้างที่จำเป็นต่อการจัดเก็บข้อมูล ช่วยลดความยุ่งยากในการนิยามและการเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติทางกายภาพของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดเก็บกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบูรณภาพของข้อมูลอีกด้วย
การแปลงและนำเสนอข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลที่ได้รับเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล ทำให้เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างรูปแบบของข้อมูลทางตรรกะและทางกายภาพ กล่าวคือทำให้มีความเป็นอิสระของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะแปลงความต้องการเชิงตรรกะของผู้ใช้ ให้เป็นคำสั่งที่สามารถดึงข้อมูลทางกายภาพที่ต้องการ
การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าใช้ระบบ และความสามารถในการใช้ระบบ เช่น การอ่าน เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล การจัดการระบบความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญมากในระบบฐานข้อมูลแบบที่มีผู้ใช้หลายคน
การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะใช้หลักการออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลพร้อมกันได้ และข้อมูลมีความถูกต้อง
การเก็บสำรองและกู้คืนข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีโปรแกรมเพื่อสนับสนุนการสำรองและกู้คืนข้อมูล เพื่อให้แน่ใจด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของข้อมูลในระบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะกู้ข้อมูลในฐานข้อมูลคืนมาหลังจากระบบเกิดความล้มเหลว เช่น เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
การควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะสนับสนุนและควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ตั้งแต่ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ไปจนถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เก็บไว้ในพจนานุกรมข้อมูลจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูลด้วย
ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบการจัดการฐานข้อมูลสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านภาษาคิวรี (query language) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยผู้ใช้เพียงบอกว่าต้องการอะไร และไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไรในการนำข้อมูลออกมา เพราะระบบการจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้กำหนดวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเอง
การติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล ระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะต้องสนับสนุนการใช้งานฐานข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูล เครือข่ายห้องสมุด Thailis


 เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) พร้อมภาพ โดยเฉพาะข้อมูลวิทยานิพนธ์ งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ตลอดจนให้บริการ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัย/สถาบันกว่า 70 แห่ง เพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศฉบับเต็ม พร้อมภาพที่ต้องการได้ทันที โดยปัจจุบันมีการจัดเก็บข้อมูลในระบบจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนกว่า 50,000 รายการ (โครงการพัฒนาเครือข่าย ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย ( ThaiLIS )

วิธีการใช้ฐานข้อมูล ThaiLIS
1. หน้าจอสืบค้นฐานข้อมูล ThaiLIS  จะวิธีการสืบค้นฐานข้อมูล วิธี  
                  1)  ค้นโดย Basic Search  
            2) Advanced Search 
            3) Browse Search  แล้วแต่ผู้ใช้ แต่ที่ใช้มาก คือ Basic  Search



2. หน้าจอจะปรากฏรายการที่ท่านสืบค้น ให้ทำการเลือกรายการโดย
     4) คลิกเลือกลำดับที่ต้องการ และคลิกที่ชื่อเรื่อง

  เมื่อคลิกเลือกรายการที่ต้องการแล้ว จะพบวิทยานิพนธ์ หรือรายงานวิจัย ที่แยกเป็นเอกสารแต่ละไฟล์งาน หรือเป็นไฟล์งาน ไฟล์ แล้วแต่ละสถาบันจะนำข้อมูลขึ้น  สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้เช่นกัน
3. หากต้องการจะ อ่านเอกสารฉบับเต็ม เพื่อ Download  ต้อง
      5) คลิกยอมรับเงื่อนไข และ 6) คลิกเลือก Server  ThaiLIS  จะพบข้อมูลเอกสารที่ต้องการ

4. เมื่อคลิก Server ThaiLIS  เรียบร้อยแล้ว  จะปรากฏหน้าจอให้เลือก
       7) Open 
       8) Save 
       9) Cancle 
   เพื่อให้เปิดดูหรือบันทึกเอกสารฉบับเต็ม  ซึ่งหมายความว่าท่านได้เอกสารที่ต้องการค้นหาเรียบร้อยแล้ว

ที่มา : http://lrckm.wordpress.com/
          http://site2.rmutto.ac.th/node/4
         https://www.facebook.com/notes/9experttraining/


วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระบบฐานข้อมูล


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล 

                งานในองค์การไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องมีข้อมูลของการทำงาน หรือข้อมูลทางธุรกิจในลักษณะต่าง ๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจมีทั้งข้อมูลพนักงาน ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้นข้อมูลขององค์การดังกล่าวยังอาจมีความสำคัญมากน้อยต่างกัน มีผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม หรือทุกกลุ่มได้ตามความจำเป็นและตามลำดับชั้นความลับ สิ่งสำคัญคือ ข้อมูลขององค์การหนึ่งย่อมมีความเกี่ยวข้องกันและควรที่จะนำมารวมไว้ใน ฐานข้อมูล” (Database)
ความหมาย



        มีคำอธิบายความหมายของ ฐานข้อมูล” อยู่มากมายหลายคามหมาย ตัวอย่างเช่น

        ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น  เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
        
        ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง (A database is a collection of persistent data that is used by the application systems of some given enterprise.) ข้อมูลจะคงทนอยู่ในฐานข้อมูลเพราะเมื่อระบบจัดการฐานข้อมูลรับข้อมูลนั้นเข้าสู่ฐานข้อมูลแล้ว ใครจะขจัดหรือเอาข้อมูลออกไปจากฐานข้อมูลได้ต้องมีการร้องขอต่อระบบจัดการฐานข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างข้อมูลที่คงทนในฐานข้อมูล เช่น 

  • กิจการ           =         ข้อมูลคงทน                                                              
  • ธนาคาร         =         ข้อมูลบัญชี 
  • โรงพยาบาล      =         ข้อมูลผู้ป่วย 
  • มหาวิทยาลัย     =         ข้อมูลนักศึกษา 
  • หน่วยราชการ    =         ข้อมูลการวางแผน



ความสำคัญของระบบการจัดการฐานข้อมูล 
                การนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานเพื่อประมวลผลข้อมูล นอกจากอำนวยความสะดวกในการทำงานได้รวดเร็วแล้ว ยังมีความถูกต้องแม่นยำในการประมวลผลอีกด้วย ตัวอย่าง เช่น กรณีระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เมื่อมีผู้ป่วยต้องการเลือดหมู่โลหิตพิเศษโดยเร่งด่วนจำเป็นต้องการผู้บริจาคโลหิตหมู่โลหิตเดียวกันโดยใช้ฐานข้อมูลค้นหาผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณสมบัติได้อย่างรวดเร็วได้แก่ผู้บริจาคต้องน้ำหนักมากกว่า 45ก.ก.และบริจาคครั้งสุดท้ายมาแล้วเกิน 90วันผู้บริจาคควรมีที่อยู่ใกล้โรงพยาบาลเป็นต้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลยังมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ อีก ดังนี้    

1. ความมีประสิทธิภาพ
 ระบบการจัดการฐานข้อมูล ช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลมากขึ้น เช่น อธิการบดีต้องการทราบว่าในแต่ละปีมีอาจารย์หรือบุคลากรเกษียณอายุราชการเป็นจำนวนเท่าไร และมีอาจารย์สาขาใดบ้างที่เกษียณ  ในอนาคตมีสาขาใดขาดแคลนหรือไม่ ระบบฐานข้อมูลสามารถให้คำตอบแก่ผู้บริหารได้
2. การสอบถามข้อมูล
 ระบบบบการจัดการฐานข้อมูลมีภาษาที่ใช้ในการสอบถามสำหรับสอบถามข้อมูลได้ทันทีแม้ว่าโปรแกรมเมอร์ไม่ได้เขียนคำสั่งสอบถามในบางรายการเอาไว้ผู้ใช้ที่มีความชำนาญสามารถใช้คำสั่งเพื่อให้ได้คำตอบแบบทันทีทันใดได้เช่นกันเช่นในกรณีระบบฐานข้อมูลของผู้ป่วย ถ้าผู้บริหารต้องการทราบจำนวนสถิติของผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ว่ามีจำนวนเท่าไรสามารถใช้คำสั่งสอบถามแบบง่าย ๆ ได้  คำสั่งดังกล่าว ผู้เขียนได้เขียนอธิบายไว้อย่างละเอียดใน บทที่ 3    
3. การเข้าถึงข้อมูล
 ระบบการจัดการฐานข้อมูลให้บริการการเข้าถึงข้อมูลได้เป็นอย่างดีมีระบบรักษาความปลอดภัยรวมทั้งการจัดการข้อมูลที่ดี เพราะระบบการจัดการฐานข้อมูลมีฟังก์ชันการให้สิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ถ้าหากไม่ได้รับสิทธิ์จากผู้บริหารระบบ               
4.ลดข้อมูลที่ขัดแย้ง 
ระบบการจัดการฐานข้อมูลช่วยลดความไม่สอดคล้อง หรือข้อมูลที่ขัดแย้งกันให้น้อยลงทำให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากขึ้น

อ้างอิง https://sites.google.com/site/thaidatabase2

ประโยชน์ของการจัดทำระบบฐานข้อมูล
               การรวบรวมข้อมูลต่างๆ  เข้าเป็นระบบฐานข้อมูล โดยมีการออกแบบ การวิเคราะห์และสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ต่อการใช้งานในสำนักงานทั่วไปอย่างมาก  ดังนี้   
 1.
ช่วยลดปัญหาของความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บเนื่องจากในขั้นตอนของการออกแบบฐานข้อมูล เมื่อพบข้อมูลบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันก็จะสามารถลดและปรับข้อมูลให้น้อยลง  ขณะที่ยังคงความสามารถในการเรียกดูข้อมูลได้ ดังเดิมโดยใช้การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล     
 2.
สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคนและหลายหน่วยงานได้ ไม่จำกัดเฉพาะโปรแกรมในปัจจุบันเท่านั้นแต่สามารถใช้กับโปรแกรมที่จะพัฒนาในอนาคตด้วย 
 3.
สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง  เนื่องจากความซ้ำซ้อนของข้อมูล ดังเหตุผลในข้อแรก เมื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลแล้ว ระบบฐานข้อมูลก็จะมีข้อมูลเรื่องใดๆ  อยู่น้อยชุดที่สุด  ซึ่งสะดวกในการแก้ไข ปรับปรุงต่างจากในกรณีที่มีข้อมูลอย่างเดียวกันหลายชุด ถ้ามีการแก้ไขแล้วไม่ได้แก้ไขข้อมูลครบทุกชุด เมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลจะ พบข้อมูลเรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน 
 4.
สามารถควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ทั้งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (Relational Integrity)  และความถูกต้องของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Referential Integrity)   สามารถควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ ทั้งใน ลักษณะรูปแบบของข้อมูล (Format) การกำหนดรหัส (Coding) ในข้อมูลเรื่องเดียวกันให้เหมือนกัน
 5.
การจัดทำระบบฐานข้อมูล จะเป็นการวางแผนระบบข้อมูลขององค์กร หรือหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียและความขัดแย้งของข้อมูลที่อาจจะมีขึ้น  ถ้าแต่ละแผนกแยกกันพัฒนาระบบข้อมูลของตนเอง 
 6.
สามารถควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ถูกนำเข้ามาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล ซึ่งอยู่ที่ส่วนกลาง  มีผู้ดูแลข้อมูลอย่างชัดเจน  ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล (Database Administration) ก็จะสามารถควบคุมการเข้าใช้  การแก้ไขข้อมูลของผู้เข้าใช้ทุกคน 
 7.
ทำให้มีความเป็นอิสระในการจัดการฐานข้อมูล   ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บหรือการเรียกใช้ข้อมูล   การประยุกต์ใช้ทำได้ง่าย 
อ้างอิง http://www.comsrt.net63.net/1Database.htm
ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลในองค์กร



สรุป
การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลมีข้อดีมากกว่าการแยกเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้ม เพราะเมื่อข้อมูลมีปริมาณมากๆ ถ้าเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนกันของข้อมูลเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่มีอยู่หลายแฟ้มไม่ครบ จนทำให้ข้อมูลมีความขัดแย้งกันเอง แต่ถ้าเก็บข้อมูลไว้ในระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว จะทำให้ลดความซ้ำซ้อนและความแตกต่างของข้อมูลได้ จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลและเกิดความรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลด้วย ซึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Oracle, Informix, dBase, FoxPro, และ Paradox เป็นต้น โดยมีการจำลองฐานข้อมูลเป็นแบบต่างๆ ได้แก่ แบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย เชิงสัมพันธ์ เชิงวัตถุ และเชิงวัตถุ - สัมพันธ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของข้อมูลและความสลับซับซ้อนของการจัดเก็บข้อมูล ในเอกสารประกอบการสอนนี้จะเน้นแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เพราะเป็นแนวคิดพื้นฐานในการฝึกการออกแบบฐานข้อมูลเบื้องต้นได้